ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านครับ รู้เรื่องเกี่ยวกับ"ยุง"ทุกเรื่องได้ที่นี่!!!

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทบาทของภาคีเครือข่ายสำหรับการดำเนินงานไข้เลือดออก
หน่วยงานสาธารณสุข
๑.      สถานพยาบาลทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน คัดกรองผู้ป่วยที่มีไข้หรือมีอาการเข้าข่าย
โรคไข้เลือดออก  ให้พิจารณาถึงการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับแรก
๒.      แจ้งพื้นที่และรายงานผู้บริหารทันทีที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกหรือสงสัยไข้เลือดออก
๓.      สอบสวนโรคและควบคุมโรคทันทีที่ได้รับรายงานผู้ป่วย
อาสาสมัครสาธารณสุข
๑.      สำรวจลูกน้ำ ให้คำแนะนำ ให้ความรู้แก่เจ้าของบ้านที่รับผิดชอบ และให้ความช่วยเหลือ
ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถทำได้ เช่น เจ้าของบ้านเป็นผู้สูงอายุ
๒.      เฝ้าระวังผู้ป่วยในหมู่บ้าน ถ้ามีผู้ป่วยไข้สูง ให้คำแนะนำและ/หรือพาไปตรวจรักษา
สถานศึกษา
๑.      สถานศึกษาทุกแห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดูแลไม่ให้มีลูกน้ำ (ค่า CI=0)
๒.      ประชาสัมพันธ์  ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกหน้าเสาธงหรือเสียงตามสาย
๓.      เฝ้าระวังผู้ป่วยไข้เลือดออก  ถ้าพบมีนักเรียน นักศึกษาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค
ไข้เลือดออกหรือสงสัยโรคไข้เลือดออก  ให้แนะนำคนที่ใกล้ชิดผู้ป่วยและมีไข้สูงไปรับการตรวจรักษาทันที
๔.      ให้นักเรียน นักศึกษานำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติที่บ้านตนเองหรือแจ้งผู้ปกครองให้ปฏิบัติ 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑.      มีแผนงานโครงการร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
๒.     สนับสนุนงบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก  
อย่างเพียงพอและทันเวลา
๓.     พิจารณาออกข้อบัญญัติ/ข้อบังคับและนำมาใช้ในกรณีที่ไม่ได้รับความร่วมมือ
๔.      ป้องกันและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในพื้นที่
ผู้นำชุมชน
๑.      กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน/ชุมชน ให้ความสำคัญกับปัญหาไข้เลือดออก   
เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงสภาพแวดล้อม  ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
๒.      ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว  ในกรณีที่หอกระจายข่าวชำรุด  ให้มีการแก้ไข    
ให้ใช้การได้เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมู่บ้าน/ชุมชน
๓.      ปรับปรุงสภาพแวดล้อมสถานที่สาธารณะ เช่น วัด บริเวณทั่วไปของหมู่บ้าน
ผู้ประกอบการ
๑.      โรงแรม รีสอร์ท หอพัก อพาตเมนท์ ผู้ประกอบการร้านค้า  มีการดูแลสภาพแวดล้อม
และในบริเวณ อาคาร สถานที่  ไม่ให้มีลูกน้ำ
๒.      ถ้ามีพนักงาน/ลูกจ้าง เจ็บป่วยด้วยอาการไข้สูง ให้รีบพาไปตรวจรักษา
หน่วยงาน
หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีผู้รับผิดชอบดูแลอาคารสถานที่ไม่ให้รกและไม่ให้มีลูกน้ำ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
ประสานผู้เกี่ยวข้องให้มีการประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากประชาชน            
ประชาชน
๑.      ดูแลบ้านเรือนและบริเวณรอบๆบ้าน ไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายและไม่ให้มียุงลายตัวแก่
๒.      ถ้ามีคนในบ้านมีอาการไข้ให้รีบไปตรวจรักษา ไม่ซื้อยามาทานเอง
         

ร่วมด้วยช่วยกันทำ ไม่มีลูกน้ำ  ไม่มียุงลาย  ไม่มีไข้เลือดออก
อ้างอิงรุปภาพhttp://www.thaitribune.org//images/2015/7July/13%20-%2019%20July/mosquito%203.jpg


ขอบคุณ https://www.google.co.th/urlsa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=3&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwicpIOz8svQAhUUTI8KHTx9DhAQFgglMAI&url=http%3A%2F%2Fwww.ssko.moph.go.th%2Fdhf%2Fupload_file%2F201603291802634.doc&usg=AFQjCNGdSmnSIQacEjlWbM73kJ8dwXddhQ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น