ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านครับ รู้เรื่องเกี่ยวกับ"ยุง"ทุกเรื่องได้ที่นี่!!!

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทบาทของภาคีเครือข่ายสำหรับการดำเนินงานไข้เลือดออก
หน่วยงานสาธารณสุข
๑.      สถานพยาบาลทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน คัดกรองผู้ป่วยที่มีไข้หรือมีอาการเข้าข่าย
โรคไข้เลือดออก  ให้พิจารณาถึงการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับแรก
๒.      แจ้งพื้นที่และรายงานผู้บริหารทันทีที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกหรือสงสัยไข้เลือดออก
๓.      สอบสวนโรคและควบคุมโรคทันทีที่ได้รับรายงานผู้ป่วย
อาสาสมัครสาธารณสุข
๑.      สำรวจลูกน้ำ ให้คำแนะนำ ให้ความรู้แก่เจ้าของบ้านที่รับผิดชอบ และให้ความช่วยเหลือ
ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถทำได้ เช่น เจ้าของบ้านเป็นผู้สูงอายุ
๒.      เฝ้าระวังผู้ป่วยในหมู่บ้าน ถ้ามีผู้ป่วยไข้สูง ให้คำแนะนำและ/หรือพาไปตรวจรักษา
สถานศึกษา
๑.      สถานศึกษาทุกแห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดูแลไม่ให้มีลูกน้ำ (ค่า CI=0)
๒.      ประชาสัมพันธ์  ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกหน้าเสาธงหรือเสียงตามสาย
๓.      เฝ้าระวังผู้ป่วยไข้เลือดออก  ถ้าพบมีนักเรียน นักศึกษาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค
ไข้เลือดออกหรือสงสัยโรคไข้เลือดออก  ให้แนะนำคนที่ใกล้ชิดผู้ป่วยและมีไข้สูงไปรับการตรวจรักษาทันที
๔.      ให้นักเรียน นักศึกษานำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติที่บ้านตนเองหรือแจ้งผู้ปกครองให้ปฏิบัติ 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑.      มีแผนงานโครงการร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
๒.     สนับสนุนงบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก  
อย่างเพียงพอและทันเวลา
๓.     พิจารณาออกข้อบัญญัติ/ข้อบังคับและนำมาใช้ในกรณีที่ไม่ได้รับความร่วมมือ
๔.      ป้องกันและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในพื้นที่
ผู้นำชุมชน
๑.      กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน/ชุมชน ให้ความสำคัญกับปัญหาไข้เลือดออก   
เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงสภาพแวดล้อม  ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
๒.      ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว  ในกรณีที่หอกระจายข่าวชำรุด  ให้มีการแก้ไข    
ให้ใช้การได้เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมู่บ้าน/ชุมชน
๓.      ปรับปรุงสภาพแวดล้อมสถานที่สาธารณะ เช่น วัด บริเวณทั่วไปของหมู่บ้าน
ผู้ประกอบการ
๑.      โรงแรม รีสอร์ท หอพัก อพาตเมนท์ ผู้ประกอบการร้านค้า  มีการดูแลสภาพแวดล้อม
และในบริเวณ อาคาร สถานที่  ไม่ให้มีลูกน้ำ
๒.      ถ้ามีพนักงาน/ลูกจ้าง เจ็บป่วยด้วยอาการไข้สูง ให้รีบพาไปตรวจรักษา
หน่วยงาน
หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีผู้รับผิดชอบดูแลอาคารสถานที่ไม่ให้รกและไม่ให้มีลูกน้ำ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด
ประสานผู้เกี่ยวข้องให้มีการประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากประชาชน            
ประชาชน
๑.      ดูแลบ้านเรือนและบริเวณรอบๆบ้าน ไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายและไม่ให้มียุงลายตัวแก่
๒.      ถ้ามีคนในบ้านมีอาการไข้ให้รีบไปตรวจรักษา ไม่ซื้อยามาทานเอง
         

ร่วมด้วยช่วยกันทำ ไม่มีลูกน้ำ  ไม่มียุงลาย  ไม่มีไข้เลือดออก
อ้างอิงรุปภาพhttp://www.thaitribune.org//images/2015/7July/13%20-%2019%20July/mosquito%203.jpg


ขอบคุณ https://www.google.co.th/urlsa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=3&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwicpIOz8svQAhUUTI8KHTx9DhAQFgglMAI&url=http%3A%2F%2Fwww.ssko.moph.go.th%2Fdhf%2Fupload_file%2F201603291802634.doc&usg=AFQjCNGdSmnSIQacEjlWbM73kJ8dwXddhQ


อาการของการติดเชื้อซ้ำ
 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 

        ระยะไข้สูง จะมีไข้สูงลอย ไม่ยอมลง หน้าแดง ปวดหัว เมื่อย ดื่มน้ำบ่อย มักมีอาเจียน เบื่ออาหาร มักไม่ค่อยมีอาการหวัด คัดจมูก ไอ หรือเจ็บคอ แต่บางคนก็มี อาจมีท้องเสีย หรือท้องผูกราว ๆ 3 วันจะมีผื่นขึ้นตามตัว จุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามหน้า ซอกรักแร้ แขน ขา อาจมีปวดท้องในช่วงนี้ ถ้าทำการทดสอบที่เรียกว่า ทูร์นิเคต์(Tourniquet) โดยรัดแขนด้วยเชือกหรือเครื่องวัดความดันประมาณ 5 นาที จะพบจุดเลือดออกมากกว่า 20 จุด ในวงกลมที่วาดไว้ที่ท้องแขนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถ้าไม่เป็นหนัก จะดีขึ้นใน 3-7 วันและเข้าสู่ระยะหาย
        ระยะช๊อคและเลือดออก มักจะเกิดในวันที่ 3-7 ในระยะนี้ เด็กไข้ลง แต่แทนที่อาการจะดี พบว่า อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม กระสับกระส่าย ตัวเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะเข้ม ออกน้อย ชีพจรเต้นเบาเร็ว ความดันต่ำ ถ้าไม่รีบรักษาจะช๊อคและเสียชีวิตได้ ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น จ้ำตามผิวหนัง อาเจียน ถ่าย เลือดกำเดา ประจำเดือนเป็นเลือดมาก ระยะนี้จะกินเวลา 2-3 วันและจะเข้าสู่ระยะต่อไป
        ระยะฟื้นตัว  อาการจะดีขึ้น อาการแรกที่บ่งว่าหายคือ จะเริ่มอยากกินอาหาร มีผื่นของการหาย  ที่เป็นแดงสลับขาวแผ่ตามแขนขา ตัว

อาการอันตราย

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง  ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

1.       ผู้ป่วยซึม หรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง

2.       คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา

3.       ปวดท้องมาก

4.       มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ

5.       กระสับกระส่าย หงุดหงิด

6.       พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ

7.       กระหายน้ำตลอดเวลา

8.       ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก

9.       ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลายๆ

10.    ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานาน

การรักษา ไม่ มียาเฉพาะ รักษาตามอาการ พยายามให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้ามีความสงสัย ว่าไข้ยังสูง มีตัวแดง เกิดในหน้าฝน ต้องรีบนำไปเทสต์ทันที



การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดๆ  ลูบเบาๆบริเวณหน้า ลำตัว แขน และขา แล้วพักไว้บริเวณหน้าผาก  ซอกคอ รักแร้  แผ่นอก  แผ่นหลัง และขาหนีบ  ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที  แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าที่ไม่หนามาก หรือห่มผ้าบางๆ นอนพักผ่อน  ระหว่างการเช็ดตัวถ้าผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ด  แล้วให้ผู้ป่วยห่ม ผ้า พอหายหนาวสั่นจึงค่อยเช็ดต่อ
ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซทตามอลเวลามีไข้สูง  ตัวร้อนจัด หรือปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยตามตัวมาก โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4  ชั่วโมง  ห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่นโดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือตับวายได้
ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น
หมายเหตุ ใน ระยะไข้สูงของโรคไข้เลือดออก การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลดลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้  การเช็ดตัวลดไข้ จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS)  หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย   ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียน   ไม่สามารถดื่มน้ำได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว  อาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศกรีม ข้าวต้ม เป็นต้น ควรงดเว้นอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีแดง  ดำ  หรือสีน้ำตาล
มาพบแพทย์ตามนัด  เพื่อตรวจเลือด
วิธีป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย
ยุงลายที่เป็นต้นเหตุไข้เลือดออกร้อยละ 95 เป็นยุงที่อยู่ในบ้านเรือน อีกร้อยละ 5
อยู่ตามบริเวณสวน โดยยุงตัวเมียมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 45 วัน หลังผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียว สามารถวางไข่ตัวละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1,000-2,000 ฟอง การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกถือเป็นงานที่ท้าทายการบริหารจัดการของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ความรู้ความเข้าใจ และขอความร่วมมือประชาชนให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงให้น้อยที่สุด ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูกาลที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงที่สุดในการกำจัดยุงลาย ต้องช่วยกันดูแล ปิดฝาโอ่งน้ำกินน้ำใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่ ส่วนในภาชนะเล็กๆ ในบ้านเรือน เช่น แจกัน ไม้ประดับ น้ำที่อยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ น้ำในเล้าไก่เลี้ยงตามบ้าน ให้เปลี่ยนน้ำ เททิ้งทุก 7 วัน โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่สุดคือในห้องน้ำ โดยทั่วไปจะมีสภาพชื้น เย็น และมีมุมอับมืด จะเป็นที่ซ่อนตัวของยุงลายได้ จึงต้องหมั่นดูว่ามีลูกน้ำยุงลายหรือไม่ หากพบว่ามีแม้แค่ตัวเดียว ก็ให้ตักทิ้งไป หรือใช้น้ำให้หมดไป และถ่ายน้ำทิ้ง จะเป็นวิธีกำจัดยุงลายที่ดีที่สุด การพ่นหมอกควันไม่สามารถป้องกันในระยะยาว เป็นเพียง
การควบคุมชั่วคราวเพื่อฆ่ายุงลายตัวแก่ในบริเวณที่มีการระบาด เพื่อไม่ให้ยุงที่มีเชื้อไปกัดหรือวางไข่ต่อที่อื่นๆ อีก

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
1. ยุงลายในประเทศไทยที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus)
2. แหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายทั้งสองชนิดแตกต่างกัน โดยลูกน้ำของยุงลายบ้านจะอยู่ในภาชนะขังน้ำชนิดต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ภายในบ้าน และบริเวณรอบๆ บ้าน เช่น โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ บ่อซีเมนต์เก็บน้ำในห้องน้ำ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าวกันมด แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า และเศษวัสดุต่างๆ ที่มีน้ำขัง เป็นต้น เมื่อปี ค.ศ. 2007 นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเครกเวนเตอร์ สามารถถอดรหัสพันธุกรรมของยุงลายบ้านได้เป็นผลสำเร็จ นับเป็นยุงชนิดที่สองในโลกที่ได้รับการศึกษาจีโนมอย่างสมบูรณ์ พบว่าสายพันธุกรรมประกอบไปด้วยเบสจำนวน 1.38 ล้านคู่ สร้างโปรตีนทั้งหมด 15,419 ชนิด
3. ลูกน้ำยุงลายสวนมักเพาะพันธุ์อยู่ในแหล่งธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ โพรงหิน กระบอกไม้ไผ่ กาบใบพืชจำพวกกล้วย พลับพลึง หมาก ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น และอยู่บริเวณรอบๆ บ้านหรือในสวน เช่น ยางรถยนต์เก่า รางน้ำฝนที่อุดตัน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่ไม่ใช้แล้ว หรือแม้แต่แอ่งน้ำบนดิน ยุงลายสวนตัวเมียจะไม่วางไข่บนน้ำโดยตรงเหมือนยุงชนิดอื่นๆ และมีความสามารถในการกัดได้รวดเร็วมาก ส่วนใหญ่คนที่ถูกกัดจะตบไม่ทัน

การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
1. ปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อน อะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้
2. หมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็กๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็น
แจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่างๆ
ที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ
3. ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ ใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานกระถางต้นไม้นั้น เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกระถางต้นไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก 7 วัน
4. การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้
5. บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่มืดๆ อับๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตุว่ารดน้ำมากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า พยายามเทน้ำทิ้งบ่อยๆ

วิธีกำจัดลูกน้ำ
วิธีทางเคมี และชีวภาพที่นำมาใช้กำจัดลูกน้ำ ได้แก่
1. แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำ Bacillus thuringiensis israelensis และ Bacillus sphaericus
2. สารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแมลง เช่น methoprene
3. ยาฆ่าแมลงในกลุ่มสารออร์แกโนฟอสเฟต เช่น temephos
4. น้ำมันแร่ (mineral oils)
5. แผ่นฟิล์มโมเลกุลเดียว (monomolecular films)

ทรายกำจัดลูกน้ำ
1. ทรายกำจัดลูกน้ำ เป็นทรายที่ถูกเคลือบด้วยสารเคมีที่มีชื่อสามัญว่า "ทีมีฟอส" (temephos) เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต ใช้ใส่ในน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย อัตราส่วนที่ใช้ คือ ทรายกำจัดลูกน้ำ 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร หากใช้ทรายกำจัดลูกน้ำตามอัตราที่กำหนดให้นี้จะไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค
2. เป็นสารออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท และการหายใจของลูกน้ำยุงต่างๆ สารทีมีฟอสมีความเป็นพิษสูงต่อตัวอ่อนของยุง รวมทั้งแมลงอื่นๆ เช่น ริ้น แมลงวันฝอยทราย แมลงหวี่ขน แมลงวันริ้นดำ และเหา จากการศึกษาพบว่ามีพิษน้อยต่อคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แต่ยังมีความเป็นพิษสูงต่อนกบางชนิด
3. ทรายกำจัดลูกน้ำที่ผลิตออกมาจำหน่ายมีหลายชื่อการค้า เช่น อะเบท (ABATE) เคมฟลีท แซนดาเบต (Chemfleet Sandabate) ลาวิฟอส เอสจี (Lavifos SG) เป็นต้น
4. ทรายกำจัดลูกน้ำได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่า ปลอดภัยสำหรับการใส่ในน้ำดื่ม แต่มีข้อจำกัดที่ราคาค่อนข้างแพง

โอ่งน้ำ
สำหรับโอ่งน้ำ ควรใช้วิธีปิดฝาให้มิดชิด ปิดปากโอ่งน้ำดื่มด้วยผ้ามุ้งหรือตาข่ายไนล่อน คาดเชือกรอบปากโอ่งให้แน่น แล้วจึงปิดทับชั้นนอกด้วยฝาอะลูมิเนียม เพื่อป้องกันฝุ่นละออง การปิดปากโอ่งด้วยฝาอะลูมิเนียมเพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับโอ่งน้ำใช้ที่ต้องใช้น้ำอยู่เป็นประจำ ให้หุ้มฝาอะลูมิเนียมด้วยผ้ามุ้งอย่างหลวมๆ เวลาปิดฝา ชายผ้าจะกรอมลงไปกับตัวโอ่ง ช่วยป้องกันไม่ให้ยุงลายเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ในโอ่งได้

ยางรถยนต์เก่า
1. ยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้กันแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นยางของรถเก๋ง รถกระบะ รถสิบล้อ หรือว่ารถแทรคเตอร์ หากวางทิ้งไว้นอกบ้าน เวลาฝนตกลงมาก็จะสามารถเก็บกักน้ำฝนไว้ได้ส่วนหนึ่ง แล้วก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีของยุงลาย
2. การนำยางรถยนต์เก่ามาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แทนการวางทิ้งไว้เฉยๆ จะช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ดี เช่น นำมาทำเป็นที่ปลูกต้นไม้ ที่ปลูกพืชผัก สวนครัว เป็นที่ทิ้งขยะ เป็นเก้าอี้ เป็นฐานเสา เป็นรั้ว เป็นชิงช้า หรือทำเป็นที่ปีนป่ายห้อยโหนสำหรับเด็กๆ แต่จะต้องดัดแปลงยางรถยนต์เก่านั้นให้ขังน้ำไม่ได้
3. หากจะทำเป็นที่ทิ้งขยะ เป็นชิงช้าหรือเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น จะต้องเจาะรูให้น้ำระบายไหลออกไปได้ง่าย และหากจะทำเป็นรั้วก็ควรฝังดินให้ลึกพอที่ด้านล่างของยางรถยนต์นั้นไม่สามารถขังน้ำได้

ภายในบ้าน
1. แจกัน ควรใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน
2. ขวดเลี้ยงพลูด่าง ควรใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หรือปลูกด้วยดิน
3. จานรองขาตู้กับข้าว ควรใช้วิธีเติมน้ำเดือดลงไปทุก 7 วัน หรือใส่ชัน หรือขี้เถ้าแทนการใส่ด้วยน้ำ อาจพิจารณาใช้เกลือแกง น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก ซึ่งเป็นของคู่บ้านคู่ครัวอยู่แล้ว เอามาใช้ในการควบคุม และกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จานรองขาตู้กับข้าว
4. จานรองกระถางต้นไม้ ควรใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ทิ้งลงดินทุก 7 วัน หรือใส่ทรายธรรมดาให้ลึก 3 ใน 4 ส่วนของจาน
5. ยางรถยนต์เก่า ควรใช้วิธีปกปิด เจาะรูหรือดัดแปลงให้ขังน้ำไม่ได้
6. อ่างบัว ควรใช้วิธีใส่ปลากินลูกน้ำ

ภายนอกบ้าน
1. ท่อระบายน้ำ ควรใช้วิธีระบายน้ำออก อย่าปล่อยให้ท่ออุดตัน
2. หลุมบ่อ แอ่งน้ำ ควรใช้วิธีกลบถมด้วยดินหรือทราย

แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำ
1. แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง
ออกฤทธิ์กำจัดลูกน้ำยุงภายใน 24 ชั่วโมง และคงประสิทธิภาพในการควบคุมลูกน้ำได้นานหลายสัปดาห์
2. ภายในเซลล์ของแบคทีเรียมีผลึกโปรตีนที่มีสารพิษ ลูกน้ำจะกินแบคทีเรียเข้าไป โดยที่ภายในกระเพาะอาหาร ของลูกน้ำมีสภาพเป็นด่าง เมื่อมีเอนไซม์ออกมาย่อยโปลีเปปไทด์ที่เป็นองค์ประกอบของผลึกโปรตีนนี้ ผลึกโปรตีนก็จะแสดงความเป็นพิษต่อ ลูกน้ำ โดยทำให้เกิดอาการเป็นอัมพาตซึ่งทำให้ลูกน้ำตายได้
3. แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำ Bacillus thuringiensis israelensis มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และลูกน้ำยุงก้นปล่อง แต่ได้ผลไม่มากนักสำหรับการกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ ส่วนแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ มีชื่อเรียกว่า Bacillus sphaericus
4. แบคทีเรียที่ได้รับการผลิตออกจำหน่ายตามท้องตลาดมีชื่อการค้าแตกต่างกันไป เช่น Bactimos, Teknar, VectoBac, Larvitab ฯลฯ และมีหลายสูตรให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับชนิดของแหล่งน้ำ และชนิดของลูกน้ำยุง

ปลากินลูกน้ำ
1. วิธีกำจัดลูกน้ำวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลากัด โดยใส่ไว้ในโอ่งหรือบ่อซีเมนต์ที่ใส่น้ำสำหรับใช้ ปลาเหล่านี้จะช่วยกินลูกน้ำในน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยควบคุมยุงลายได้ทางหนึ่ง
2. ปลาหางนกยูงเลี้ยงง่ายและขยายพันธุ์เร็ว พันธุ์พื้นเมืองของไทยนั้น ลวดลายไม่ค่อยสวย แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าพันธุ์สวยงาม ปลาหางนกยูงกินอาหารได้หลายชนิด เช่น ลูกน้ำยุง
ตัวอ่อนแมลงต่างๆ หนอนแดง พืชน้ำ ตะไคร่น้ำ รวมทั้งลูกของมันเอง และลูกปลาอื่นๆ ด้วย ปลาหางนกยูงสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำสะอาด และน้ำสกปรก ในธรรมชาติจะพบปลานี้ได้ทั่วไปตามลำห้วย ฝายน้ำล้น หนองน้ำ สระน้ำ อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น

3. ใส่ปลาหางนกยูง 2-10 ตัวต่อภาชนะ จะช่วยให้ปลอดลูกน้ำยุงลาย ส่วนการคุมกำเนิดปริมาณปลาหางนกยูงในภาชนะทำได้โดยการใส่เฉพาะปลาตัวผู้
อ้างอิงรูปภาพ http://wm.thaibuffer.com/o/u/patcharin/Health/ETC./mosqa.jpg
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bangkokhealth.com/health/article/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2-330

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ไข้เลือดออก ยุงลาย มัจจุราชร้ายใกล้ครอบครัวคุณ

        โรคภัยร้ายที่เกิดในเมืองไทย และสร้างปัญหากับคนไทยมีหลายโรค หนึ่งในนั้นก็คือไข้เลือดออก ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการเสียชีวิตมากขึ้นทุกปี ดังนั้นลองทำความรู้จักกับมัจจุราชร้ายใกล้ครอบครัวคุณกันเลย

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มี ยุงลาย เป็นพาหะนำโรค เกิดขึ้นได้โดย เมื่อยุงไปกัดคนไข้ที่มีอาการ เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกจะอยู่ในตัวยุง แล้วไปกัดคนปกติ ส่วนใหญ่แล้วคนปกติที่มีร่างกายแข็งแรงจะมีภูมิคุ้มกันโรค แต่ในกรณีตรงกันข้ามเด็กหรือคนที่ มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรงเชื้อไข้เลือดออกจะเข้าทำลายระบบการไหลเวียนของเลือด ผนังเซลเม็ดเลือดแดง และทำลายอวัยวะภายในร่างกายจนมีเลือดออก

อาการไข้เลือดออก

อาการที่เด่นชัดคือ มีไข้คล้ายคนไข้ที่มีอาการไข้หวัดทั่วไป แต่มีข้อแตกต่างคือมีตุ่มสีแดงที่แขน ความดันโลหิตต่ำ ตาพร่า อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการมากผิวจะมีสีแดง โดยเฉพาะที่ใบหน้า มีเลือดออกที่ตับ ม้ามหรือมีอาการของไตวายร่วมด้วย

การตรวจ

เมื่อมีคนไข้ที่แพทย์เฉพาะทางสงสัยว่าเป็นอาการของโรคไข้เลือดออก แพทย์จะเจาะเลือด ตรวจหาเชื้อที่ห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้การตรวจจำนวนเกล็ดเลือด ก็เป็นการวินิจฉัยได้เป็นอย่างดี

การรักษา

การรักษาไข้เลือดออก ยังไม่มียารักษาโดยตรง แพทย์จะรักษาตามอาการ ซึ่งคนไข้จะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล กับแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น และจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ เพื่อป้องกันการระบาด คนไข้ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง เพราะปัจจุบันเชื้อไข้เลือดออกมีการกลายพันธุ์ ทำให้เชื้อรุนแรงมากขึ้น

การป้องกัน

  1. การป้องกันไม่ให้ยุงกัด ไม่ว่าทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะปัจจุบันสภาพอากาศเปลี่ยนไปมาก ทำให้ยุงลายออกหากินเปลี่ยนไป ยุงลายจะใช้โปรตีนบางตัวในเลือดในการวางไข่ เมื่อยุงลายไม่ได้กินเลือดก็จะไม่สามารถวางไข่ได้  นอกจากนี้การไม่สวมเสื้อที่มีสีทึบ และไม่อยู่ในที่มืดก็เป็นการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
  2. แจ้งเจ้าหน้าที่ เมื่อมีคนใกล้ตัวป่วย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบเพื่อวางแผนการป้องกันการระบาดอย่างมีระบบ
  3. คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นชามเก่า กระป๋อง เป็นต้น เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่เพราะธรรมชาติยุงลายจะชอบวางไข่ในน้ำนิ่งเป็นการทำลายวงจรชีวิตของยุงลาย สำหรับภาชนะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ใส่ทรายอะเบท หรือเกลือแกงลงไปเป็นการทำลายไข่ยุง
  4. สำหรับเด็กและคนชราควรอยู่ในห้องที่มีการป้องกันยุงมิดชิด เพราะคนกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันต่ำ คนปกติเองควรออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแข็งแรงจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้
  5. ไข้เลือดออกเป็นโรคร้ายที่คนไทยมีอัตราการป่วย และเสียชีวิตมากขึ้นทุกปี ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน เป็นสาเหตุให้ยุงลายเจริญเติบโตได้ดี รวมทั้งปัจจุบันสภาพอากาศโลกเปลี่ยนไปทำให้วงจรชีวิตของยุงลายสั้นลง ส่งผลให้จำนวนยุงลายมีจำนวนมาก นี่คือสิ่งคนไทยควรตระหนัก หาทางป้องกัน
ข้อมูลจากhttp://www.thaihealth.or.th


ลูกน้ำสู่การเจริญเติบโตเป็นมหาวายร้าย


วงจรชีวิตยุงมี 4 ระยะคือ ไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย



ไข่
          ไข่ยุงมีขนาดเล็กมากประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่ยุงมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันไป ไข่ยุงก้นปล่องมีทุ่นลอยใสๆ ติดอยู่ด้านข้างของไข่ช่วยพยุงให้ไข่ลอยน้ำได้ ไข่ยุงลายไม่มีทุ่นลอยแต่เกาะติดอยู่ตามผนังภาชนะกักเก็บน้ำ เช่น โอ่งน้ำ โดยเกาะติดอยู่ตามขอบเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ไข่ยุงรำคาญเรียงตัวเกาะกันเป็นแพอยู่บนผิวน้ำ ไข่ยุงเสือเกาะติดอยู่ตามขอบใต้ใบพืชน้ำบางชนิดที่อยู่ปริ่มน้ำ ยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 2 วัน ก็จะออกมาเป็นลูกน้ำ

ลูกน้ำ
          แรกเริ่มเมื่อลูกน้ำฟักออกมาจากไข่ มีขนาดเล็กมากเป็นลูกน้ำระยะที่ 1 จากนั้นลูกน้ำจะกินอาหารทำให้เจริญเติบโตขึ้นและลอกคราบเปลี่ยนเป็นลูกน้ำ ระยะที่ 2 ซึ่งมีขนาดโตขึ้นแต่มีรูปร่างเหมือนเดิม ลูกน้ำจะกินอาหารและเจริญเติบโตขึ้นอีกเป็นลูกน้ำระยะที่ 3 และ 4 ต่อไป การเปลี่ยนระยะแต่ละครั้งจะมีการลอกคราบเสมอ เมื่อลูกน้ำระยะที่ 4 เจริญเต็มที่ก็จะลอกคราบครั้งสุดท้าย เปลี่ยนเป็นระยะตัวโม่ง ซึ่งมีลักษณะรูปร่างแตกต่างไปจากลูกน้ำอย่างมาก ระยะที่เป็นลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 6 วัน ลูกน้ำยุงก็มีรูปร่างลักษณะรวมทั้งการเกาะที่ผิวน้ำและนิสัยการกินอาหารแตก ต่างกันไป เช่น ลูกน้ำยุงก้นปล่องไม่มีท่อหายใจมีแต่เพียงรูหายใจ จึงลอยตัวขนานกับผิวน้ำและหาอาหารที่ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงลายมีท่อหายใจสั้น เกาะที่ผิวน้ำโดยห้อยหัวอยู่ใต้น้ำและหาอาหารที่ก้นภาชนะกักเก็บน้ำ ลูกน้ำยุงรำคาญมีท่อหายใจยาว เกาะที่ผิวน้ำโดยห้อยหัวอยู่ใต้น้ำเช่นกันแต่หาอาหารที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ


ตัวโม่ง
         มีลักษณะรูปร่างที่เด่นชัดคือหัวโต ตามปกติจะลอยตัวนิ่งๆ ที่ผิวน้ำ แต่ถ้าถูกรบกวนจะเคลื่อนที่ได้อย่างว่องไว ระยะตัวโม่งนี้จะหยุดกินอาหารและเป็นระยะสุดท้ายที่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำ ระยะตัวโม่งใช้เวลาประมาณ 2 วัน เพื่อให้ตัวอ่อนที่อยู่ภายในเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนที่จะลอกคราบออกมาเป็น ตัวยุงตัวเต็มวัย
          ระยะเวลาเริ่มจากยุงวางไข่จนกระทั่งเจริญจนถึงยุงตัวเต็มวัย ในประเทศเขตร้อยชื้นอย่างเช่นประเทศไทยนั้นใช้เวลาประมาณ 10 วันเท่านั้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดยุงด้วย


ตัวเต็มวัย
          เมื่อตัวโม่งเจริญเต็มที่จะลอยนิ่งๆ อยู่กับที่ จากนั้นเปลือกหุ้มบริเวณส่วนหัวของตัวโม่งเริ่มปริออก ตัวยุงที่อยู่ภายในจะค่อยๆ ดันออกมา ขณะที่ตัวยุงโผล่พ้นเปลือกตัวโม่งเกือบหมดเหลือเฉพาะส่วนขา ก็จะเริ่มคลี่ปีกออก เมื่อปลายขาหลุดออกมาหมดแล้วก็จะเกาะอยู่บนผิวน้ำหรือบริเวณใกล้เคียงประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ปีกแข็งแรงพอที่จะบินได้ ตามปกติแล้วยุงตัวผู้ออกมาก่อนยุงตัวเมียและอาศัยบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ตลอด ชีวิต กินอาหารพวกน้ำหวานจากพืชโดยไม่กินเลือด ยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่าตัวเมีย ส่วนยุงตัวเมียเมื่อออกมาจากตัวโม่งจะกินอาหารพวกน้ำหวานจากพืชก่อน เพื่อให้มีพลังงาน จากนั้นก็ผสมพันธุ์โดยยุงตัวเมียผสมพันธุ์ครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิตก็ สามารถออกไขได้ตลอดไป เมื่อยุงตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้วก็จะหาอาหารเลือดซึ่งมีโปรตีนและธาตุ อาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของไข่ โดยทั่วไปถ้ายุงตัวเมียไม่ได้กินเลือด ไข่ก็ไม่เจริญจึงไม่สามารถวางไข่ต่อไปได้ ยุงแต่ละชนิดชอบกินเลือดเหยื่อแตกต่างกันไป ยุงบางชนิดชอบกินเลือดคน เช่น ยุงลาย ยุงบางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ เช่น ยุงรำคาญ ยุงบางชนิดชอบกินทั้งเลือดคนและเลือดสัตว์

เมื่อยุงได้กินเลือดเต็มที่แล้ว ก็จะไปหาบริเวณที่เหมาะสม เกาะพักนิ่งๆ เพื่อรอเวลาให้ไข่เจริญเติบโต เช่น ตามที่อับชื้น เย็นสบายลมสงบและแสงสว่างไม่มาก ยุงบางชนิดชอบเกาะพักภายในบ้านตามมุมมืดที่อับชื้น ยุงบางชนิดชอบเกาะพักนอกบ้านตามสุ่มทุมพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้น ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ยุงจะใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ไข่ก็สุกเต็มที่พร้อมที่จะวางไข่ได้ ยุงแต่ละชนิดเลือกแหล่งน้ำสำหรับวางไข่ไม่เหมือนกัน บางชนิดชอบน้ำใส นิ่ง เช่น ยุงลาย บางชนิดชอบน้ำโสโครกตามท่อระบายน้ำ เช่น ยุงรำคาญ ยุงบางชนิดชอบวางไข่ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ยุงก้นปล่อง ยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟอง เมื่อยุงวางไข่แล้วก็จะบินไปหากินเลือดอีกสำหรับไข่ในรุ่นต่อไปวนเวียนอยู่ เช่นนี้จนกระทั่งยุงแก่ตาย ยุงตัวเมียโดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 1 เดือน ส่วนยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ รูปภาพ : วงจรชีวิตของยุง
ข้อมูลจาก http://www.pro-team2010.com



โรคไข้เลือดออก




  แพทย์ปัจจุบันตระหนักดีว่า โรคไข้เลือดออกเกิดจากไวรัส dengue และผู้ป่วยอาจแสดงอาการของโรคได้สามแบบ คือ แบบแรก ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ มีน้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดกระดูก และที่ผิวหนังมีผื่นขึ้น แต่ในที่สุดอาการเหล่านี้ก็จะหายเมื่อผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีได้ยา สำหรับแบบที่ 2 มักเกิดในหนุ่มสาวและผู้ใหญ่ โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูง คือ มีอุณหภูมิร่างกายสูงประมาณ 39-41 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 4-5 วัน ใบหน้าแดง ตัวแดง รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว กระวนกระวาย ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดกระดูก เจ็บคอ รู้สึกเพลีย มีอาการซึม เบื่ออาหาร ปัสสาวะน้อย ปวดท้อง คลื่นไส้ หรือมีเลือดออกตามไรฟัน จากนั้นไข้ก็จะลดเป็นเวลาสองวัน แล้วไข้ก็จะขึ้นสูงอีก 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะมีผื่นหรือจุดเลือด (petechiae) ตามผิวหนัง และจุดจะเริ่มปรากฏที่หลังมือหรือหลังเท้าก่อน จากนั้นจะแผ่บริเวณไปที่แขน ขา ลำตัว และคอ ตามปรกติผื่นอาจปรากฏนาน 2 ชั่วโมงหรือหลายวันก็ได้ ส่วนแบบที่ 3 นั้น ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในลำไส้และกระเพาะ หรืออาจอาเจียนเป็นเลือดสีกาแฟ และถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ นอกจากนี้จุดเลือดที่เกิดจากการตกเลือดใต้ผิวหนังก็จะปรากฏตามตัวทั่วร่าง เช่น บนเพดานปาก กระพุ้งแก้ม และลิ้นไก่ ซึ่งเป็นผลจากการที่ไวรัส dengue ทำให้น้ำเหลืองซึมออกจากเส้นเลือด จนเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายมีปริมาณน้อยลงๆ และถ้าการรั่วซึมนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีความดันเลือดต่ำ จนช็อกได้

      
       
ขั้นตอนการรักษาเบื้องต้น แพทย์แนะนำว่า ทันทีที่รู้ตัวว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ให้ผู้ป่วยกินยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามกินยาแอสไพริน เพราะแอสไพรินนอกจากจะทำให้เลือดออกมากขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้กระเพาะอาการอักเสบได้ด้วย จากนั้นให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อชดเชยกับการสูญเสียเลือด แล้วนำส่งโรงพยาบาลทันที หากแพทย์รักษาไม่ทัน 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะช็อกตาย เพราะอวัยวะของร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ไต ไม่มีเลือดหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ
      
       
สำหรับวิธีป้องกันการเป็นโรคไข้เลือดออก วิธีที่ดีคือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัดด้วยการนอนกางมุ้ง หรือติดมุ้งลวดที่หน้าต่างและประตูบ้าน กำจัดแหล่งน้ำขังนิ่งซึ่งเป็นที่ที่ยุงลายชอบวางไข่ หรือเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อให้กินลูกน้ำของยุงลาย
       


       
ณ วันนี้โลกยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่จะรู้ว่า ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย แปซิฟิกตะวันตก อเมริกาใต้ ประมาณปีละ 5 แสนคน ล้มป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก สถิติการสำรวจขององค์การอนามัยโลกแสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในแต่ละปีตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมานี้ ได้เพิ่มขึ้นถึง 30 เท่าตัว ดังนั้นโรคไข้เลือดออกจึงรุนแรงพอๆ กับโรคเอดส์ วัณโรค และไวรัสตับอักเสบสำหรับผู้คนในทวีปอเมริกาใต้ และร้ายกาจพอๆ กับมาลาเรียสำหรับผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      
       
แม้แพทย์จะมีวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ มากมายก็ตาม แต่การพัฒนาสร้างวัคซีนสำหรับโรคไข้เลือดออกก็ดำเนินไปได้ช้า ทั้งนี้เพราะไวรัส dengue มี 4 ชนิด แต่ละชนิดต่างสามารถทำให้คนล้มป่วยได้ ถึงคนไข้จะได้รับการรักษาด้วยยาจนหายจากไวรัส dengue ชนิดแรกแล้ว แต่เมื่อถูกไวรัสชนิดที่ 2 คุกคาม เขาก็มีสิทธิ์ป่วยได้อีก โดยอาการป่วยครั้งหลังนี้จะรุนแรงกว่าเดิมหลายเท่า เพราะ antibody ที่ร่างกายใช้ในการต่อสู้กับไวรัสชนิดที่ 2 จะไม่สามารถฆ่าให้ไวรัสตายได้ ดังนั้นไวรัสที่ยังมีชีวตอยู่จะไปทำร้ายเซลล์ภูมิคุ้มกันจนมีผลทำให้คนไข้ป่วยหนักยิ่งขึ้นไปอีก และนี่คือเหตุผลที่ว่า เหตุใดเด็กจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจึงตาย ทั้งนี้เพราะเด็กที่กินนมแม่ ร่างกายอาจมี antibody สำหรับไวรัสชนิดหนึ่ง แต่เมื่อเด็กคนนั้นรับไวรัสต่างชนิดเข้าไป อาการไข้เลือดออกจึงรุนแรงมาก เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้หนทางหนึ่งที่แพทย์ผู้กำลังมุ่งมั่นสร้างวัคซีนไข้เลือดออกคิดจะทำ คือ ผลิตวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัส dengue ทั้ง 4 ชนิดได้พร้อมกัน ไม่ใช่ป้องกันชนิดหนึ่งชนิดใดแต่เพียงชนิดเดียว
      
       
แต่ปัญหาจึงมีต่ออีกว่า แพทย์ไม่มีสัตว์ที่จะใช้ทดลองวัคซีน เพราะหนูก็ไม่เคยป่วยเป็นโรคชนิดนี้และลิงก็ไม่ตกเลือด ดังนั้นแพทย์จึงต้องนำวัคซีนไปทดลองใช้กับคนโดยตรง และเมื่อตัวแปรในการทำให้คนล้มป่วยมีมากมาย ความสำเร็จในการผลิตวัคซีนโรคไข้เลือดออกจึงต้องใช้เวลาอีกนาน
      
       
ส่วนวิธีต่อสู้อีกหนทางหนึ่ง คือ เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของยุงลายมิให้มันเป็นพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มั่นใจว่า ยุงที่ได้รับการตัดต่อยีนจะมีชีวิตอยู่ได้นานพอที่จะแพร่พันธุ์ เพราะถ้ายุงตัวนั้นตายก่อน ปัญหาก็ไม่จบไม่สิ้น เพราะยุงที่เหลือมีมากนับอสงไขยตัว ดังนั้นวิธีที่ง่ายและมีราคาถูก คือ พยายามอย่าให้ยุงใดๆ กัด และทันทีที่รู้สึกว่าเป็นไข้ควรรีบไปหาหมอ
      
       
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่ผ่านมานี้ สถาบัน Institute of Medical Research (IMR) แห่งมาเลเซีย ได้ทดลองปล่อยยุงลาย 6,000 ตัวที่ได้รับการตัดต่อยีน ในบริเวณที่ไร้ผู้คนทางตอนกลางของแคว้นปะหัง เพื่อศึกษาลักษณะการแยกย้ายของยุงไปในพื้นที่ต่างๆ และดูอายุชีวิตของยุงลายเหล่านั้นด้วย
      
       
การทดลองนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 และคณะผู้ทดลองกำลังวิเคราะห์ผลที่ได้อยู่ ท่ามกลางเสียงต่อต้าน ที่ไม่เห็นด้วยจากบรรดานักนิเวศวิทยา ซึ่งให้เหตุผลว่า นักวิทยาศาสตร์ยังมีความรู้เกี่ยวกับยุงลายไม่เพียงพอ และไม่รู้เลยว่ายุงแฟรงเกนสไตน์เหล่านี้มีอิทธิพลอย่างไรหรือเพียงใดกับยุงธรรมดา และถ้ามีปฏิสัมพันธ์กัน ยุงธรรมดาจะกลายพันธุ์หรือไม่
      
       
ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็อ้างว่า การทดลองนี้ไม่มีพิษ ไม่มีภัยใดๆ และยุ่งเหล่านี้ก็ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงยีนจนทำให้มันมีชีวิตได้ไม่เกิน 3 วัน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการทดลองนี้ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีวิธีกำจัดยุงลายในอนาคต


ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000052736

  

ยุงลายคืออะไร?



http://www.manager.co.th/images/blank.gif
http://www.manager.co.th/images/blank.gif

               ยุงเป็นแมลงขนาดเล็ก ที่มักทำให้เรารู้สึกรำคาญเวลาเห็นหรือได้ยินเสียงมันบินไปมาใกล้ๆ ทั้งนี้เพราะ เรารู้ว่าถ้าถูกยุงกัด นอกจากจะรู้สึกคันแล้ว เราอาจเป็นมาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ หรือไข้เหลืองได้
ADVERTISING
      
         โลกมียุงกว่า 3,000 ชนิด ยุงส่วนมากไม่นำโรคใดๆ สู่มนุษย์ จะมีประมาณ 100 ชนิดเท่านั้นที่สามารถฆ่าคนได้ นักชีววิทยาพบว่า ยุงที่กัดคนเป็นยุงตัวเมียเท่านั้น เพราะมันต้องการเลือดยามจะวางไข่ เวลากัด มันจะใช้จะงอยปากที่แหลมเหมือนเข็มฉีดยาเจาะเข้าไปในเส้นเลือดใต้ผิวหนัง แล้วปล่อยน้ำลายออกมาเพื่อไม่ให้เลือดที่มันกำลังดูดแข็งตัว และถ้ายุงตัวนั้นเป็นพาหะนำโรค เชื้อโรคที่แฝงอยู่ในน้ำลายก็จะเข้าสู่ร่างกายคน ส่วนสารเคมีที่มีในน้ำลายจะทำให้คนที่ถูกยุงกัดรู้สึกคัน จนบางคนมีอาการแพ้ หรือรู้สึกหน้ามืดจนหายใจไม่ออก เป็นต้น
      
       นักชีววิทยาสนใจที่จะรู้ว่า ยุงหาอาหารอย่างไร เหตุใดบางคนจึงถูกยุงกัดบ่อย แต่บางคนยุงไม่ยุ่งด้วยเลย เหตุใดยุงก้นปล่อง (Anopheles gambiae) จึงชอบกัดบริเวณเท้าและข้อเท้าของคน แต่ยุง Anopheles atroparous กลับชอบกัดบริเวณใบหน้า และเราจะป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้อย่างไร เป็นต้น นักชีววิทยายังพบอีกว่า ในสายตายุง คนแต่ละคนมีโอกาสในการถูกกัดไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะร่างกายเรามีอุณหภูมิแตกต่างกัน อีกทั้งเวลาหายใจออกจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในปริมาณไม่เท่ากัน และมีกลิ่นตัวที่แตกต่างกัน สำหรับวิธีป้องกันยุงกัด โดยทั่วไปอาจใช้สารเคมี N, N-diethyl-3-methyl-benzamide หรือครีม calamine และ caladril ทาตามผิวหนังเพื่อไล่ยุง และพร้อมกันนั้นเราก็ควรแต่งตัวให้มิดชิดเพื่อปกป้องผิวหนังไม่ให้ถูกยุงกัด
      
       ยุงลาย (Aedes aegypti) เป็นยุงที่ร้ายกาจและน่ากลัวรองจากยุงก้นปล่อง มันมีชื่อ ยุงลาย เพราะลำตัวมีลายขาวสลับดำ ยุงลายอยู่ในอันดับ Diptera ที่มีหลายวัฏจักรชีวิต โดยในแต่ละวัฏจักร รูปร่างและวิธีหาอาหารของมันจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ยุงลายจะเริ่มชีวิตในสภาพไข่ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง ไข่ที่ลอยที่ผิวน้ำจะฟักเป็นลูกน้ำ และใช้อวัยวะสำหรับหายใจที่อยู่ที่ปลายหางแตะผิวน้ำตลอดเวลา ลูกน้ำใช้ 95 เปอร์เซ็นต์ของเวลาในช่วงนี้หาอาหาร ซึ่งได้แก่ ไรน้ำ บักเตรี และพืชขนาดเล็ก ที่มีอุดมในน้ำที่สกปรก การกินอาหารอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ทำให้ลูกน้ำเจริญเติบโตเร็วจนมีขา ปีก และปากปรากฏ จากนั้นก็เข้าสู่สภาพดักแด้ ซึ่งถ้าไม่มีอะไรมารบกวน มันก็จะลอยติดใต้ผิวน้ำตลอดไป แต่เวลามีเงามืดมาทาบ มันก็จะดำน้ำทันที ในช่วงเวลานี้มันจะไม่กินอาหารหรือขับถ่ายเลย จนกระทั่งกลายสภาพเป็นยุงลายอย่างสมบูรณ์ แม้ในระยะเริ่มต้นจะมีน้ำหวานจากดอกไม้มาวางอยู่ใกล้ๆ มันก็ไม่สนใจ แต่อีก 20-24 ชั่วโมงต่อมา ยุงหนุ่มหรือสาวจะเริ่มหิว โดยตัวผู้จะโผบินหาน้ำหวานดอกไม้ และจะไม่กัดคน แต่ชอบคลานไปบนผิวหนัง ส่วนยุงตัวเมียถ้าให้เลือกระหว่างน้ำหวานกับเลือด มันจะเลือกเลือด




      
       ยุงลายที่โตเต็มมีสายตาแหลมคม และใช้หนวดในการดมกลิ่นคน ดังนั้นถ้าหนวดของยุงลายตัวเมียถูกตัด แม้จะหิวสักเพียงใด มันก็ไม่กัดคน ตามปกติมันชอบกัดคนในบ้านมากกว่านอกบ้าน ชอบแฝงตัวอยู่ตามผ้าสีทึบ และยุงตัวเมียไม่กัดคนตอนกลางคืน และถ้ามีมือที่อุ่นกับเย็นให้ยุงเลือกเกาะ มันจะเลือกมือที่อุ่น แต่ถ้ามีมือเย็นให้เลือกเพียงตัวเดียว มันก็เกาะมือเย็นอย่างไม่ยินดีนัก ยุงลายชอบเกาะมือที่แห้งมากกว่ามือที่เปียก ถ้าให้ยุงลายบินหาเหยื่อในภาชนะปิดที่มีปริมาตร 27,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร มันจะใช้เวลาตั้งแต่ 5-30 วินาทีในการบินถึงเหยื่อ ในกรณีแขนคน เมื่อบินเกาะผิวหนังแล้ว มันจะเดินอีกสองสามก้าวก่อนจะใช้จะงอยปากกดเอียงทำมุม 75 องศากับผิวหนัง ใช้ขาทั้งหกยันบนผิวหนัง แล้วใช้เวลาอีกประมาณ 50 วินาที ในการใช้ปากเจาะผ่านผิวหนัง 2.30 นาทีในการดูดเลือด และเพียง 5 วินาทีในการถอนจะงอยปากออก ดังนั้นในการดื่มเลือดครั้งหนึ่ง ยุงลายจะได้เลือดประมาณ 3 มิลลิกรัม และขณะดื่มเลือดเชื้อโรคต่างๆ ที่มีในตัวยุงลายก็จะเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายของคนที่ถูกยุงลายนั้นกัดทันที และแม้ท่อน้ำลายของยุงลายจะถูกตัด มันก็ยังสามารถดูดเลือดได้ แต่ถ้าขาทั้งหกถูกตัด แม้มันจะยังบินได้ แต่ก็ไม่สามารถกัดคนได้ เพราะมันต้องการขาอย่างน้อยสามขาในการทรงตัวเวลากัดคน ส่วนเส้นประสาทที่เรียกว่า ventral nerve cord ที่ท้องยุงลาย ก็มีหน้าที่ควบคุมปริมาณการดื่มเลือด เพราะถ้าเส้นประสาทนี้ถูกตัดยุงลายจะดื่มเลือดจนท้องแตกตาย หรือถ้าไม่ตาย มันก็จะสลบ และจะตายในอีก 24 ชั่วโมงต่อมา
      
       ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhage Fever-DHF) มาสู่คน การที่แพทย์เรียกโรคชนิดนี้ว่า ไข้เลือดออก เพราะมันเป็นเชื้อโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูงและมีเลือดออก คำว่า dengue มาจากคำ Danga ในภาษา West Indies และ Swahili ในแอฟริกาตะวันออก เพราะดินแดนแถบนั้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ถูกโรคที่ชาวบ้านเรียก Danga คุกคามหนัก ดังในปี 2336 แพทย์อเมริกันชื่อ Benjamin Rush ได้รายงานว่า มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในเมืองฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกาด้วย
       

ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000052736